อุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์
ตั้งอยู่ตำบลพันท้ายนรสิงห์ ณ บริเวณสถานที่ซึ่งเคยเกิดเหตุการณ์หัวเรือพระที่นั่งของพระเจ้าเสือหัก สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พันท้ายนรสิงห์ ซึ่งเป็นชาวบ้านนรสิงห์ (ปัจจุบันคืออำเภอป่าโมกข์ จังหวัดอ่างทอง) รับราชการเป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกชัยของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่8 (พระเจ้าเสือ) แห่งกรุงศรีอยุธยา ในคราวที่คัดท้ายเรือพระที่นั่งเอกชัย เมื่อเรือพระที่นั่งถึงบริเวณคลองโคกขาม คลองคดเคี้ยวมากเป็นเหตุให้หัวเรือชนกิ่งไม้ใหญ่ริมคลองโคกขาม ทำให้โขนเรือหักตกลงในน้ำ พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมทูลพระเจ้าเสือให้ประหารชีวิตตามกฎมณเฑียรบาล พระเจ้าเสือทรงจำฝืนพระทัยตามพระราชกำหนดที่วางไว้จึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ และให้ทำศาลขึ้นสูงเพียงตา แล้วนำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกชัยที่หักขึ้นพลีกรรมไว้บนศาล เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่แสดงถึงความซื่อสัตย์จงรักภักดี ภายในอุทยานเป็นที่ตั้งของศาลพันท้ายนรสิงห์ ซึ่งต่อมากรมศิลปากรได้สร้างศาลขึ้นใหม่แทนหลังเก่าที่พังลงมา ภายในศาลมีรูปปั้นของพันท้ายนรสิงห์ขนาดเท่าคนจริงอยู่ในท่าถือท้ายคัดเรือ เป็นที่นับถือของชาวบ้านเป็นอย่างมาก และบริเวณใกล้เคียงสามารถเยี่ยมชมหอพระ ศาลแม่ศรีนวล (ภรรยาของพันท้ายนรสิงห์) รวมทั้งไม้ตะเคียนซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นหลักประหารเก่า ในบริเวณอุทยานยังมีเส้นทางเดินศึกษาสภาพป่าชายเลนที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ มีซากเรือโบราณที่ขุดพบบริเวณหมู่6 การเดินทาง จากถนนพระราม2 บริเวณกิโลเมตรที่16-17 เข้าซอยข้างวัดพันท้ายไประยะทางประมาณ9 กิโลเมตร ตั้งอยู่ตำบลพันท้ายนรสิงห์ ณ บริเวณสถานที่ซึ่งเคยเกิดเหตุการณ์หัวเรือพระที่นั่งของพระเจ้าเสือหัก สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พันท้ายนรสิงห์ ซึ่งเป็นชาวบ้านนรสิงห์ (ปัจจุบันคืออำเภอป่าโมกข์ จังหวัดอ่างทอง) รับราชการเป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกชัยของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่8 (พระเจ้าเสือ) แห่งกรุงศรีอยุธยา ในคราวที่คัดท้ายเรือพระที่นั่งเอกชัย เมื่อเรือพระที่นั่งถึงบริเวณคลองโคกขาม คลองคดเคี้ยวมากเป็นเหตุให้หัวเรือชนกิ่งไม้ใหญ่ริมคลองโคกขาม ทำให้โขนเรือหักตกลงในน้ำ พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมทูลพระเจ้าเสือให้ประหารชีวิตตามกฎมณเฑียรบาล พระเจ้าเสือทรงจำฝืนพระทัยตามพระราชกำหนดที่วางไว้จึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ และให้ทำศาลขึ้นสูงเพียงตา แล้วนำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกชัยที่หักขึ้นพลีกรรมไว้บนศาล เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่แสดงถึงความซื่อสัตย์จงรักภักดี ภายในอุทยานเป็นที่ตั้งของศาลพันท้ายนรสิงห์ ซึ่งต่อมากรมศิลปากรได้สร้างศาลขึ้นใหม่แทนหลังเก่าที่พังลงมา ภายในศาลมีรูปปั้นของพันท้ายนรสิงห์ขนาดเท่าคนจริงอยู่ในท่าถือท้ายคัดเรือ เป็นที่นับถือของชาวบ้านเป็นอย่างมาก และบริเวณใกล้เคียงสามารถเยี่ยมชมหอพระ ศาลแม่ศรีนวล (ภรรยาของพันท้ายนรสิงห์) รวมทั้งไม้ตะเคียนซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นหลักประหารเก่า ในบริเวณอุทยานยังมีเส้นทางเดินศึกษาสภาพป่าชายเลนที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ มีซากเรือโบราณที่ขุดพบบริเวณหมู่6 การเดินทาง จากถนนพระราม2 บริเวณกิโลเมตรที่16-17 เข้าซอยข้างวัดพันท้ายไประยะทางประมาณ9 กิโลเมตร
ระดับราคา :
- ( บาท)
เวลาเปิดทำการ :
จันทร์ | 08:00 - 17:00 |
อังคาร | 08:00 - 17:00 |
พุธ | 08:00 - 17:00 |
พฤหัส | 08:00 - 17:00 |
ศุกร์ | 08:00 - 17:00 |
เสาร์ | 08:00 - 17:00 |
อาทิตย์ | 08:00 - 17:00 |
ลักษณะร้านค้า :
มีที่จอดรถ , เหมาะสำหรับกลุ่ม , เหมาะสำหรับเด็ก
บทความที่เกี่ยวข้อง (1)
ที่เที่ยวสมุทรสาคร - 9 ที่เที่ยวแนะนำเมื่อมาเยือนสมุทรสาคร
แสดงความคิดเห็น
เรื่องที่น่าสนใจ