"สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์"
สตูลคือจังหวัดที่รวมไว้ซึ่งวิถีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ชัดเจนของพี่น้องชาวไทยมุสลิมและหมู่เกาะงดงามที่โด่งดังระดับประเทศ เช่น เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง-ราวี เกาะหลีเป๊ะ เกาะหินงาม ฯลฯ รวมทั้งผืนป่าดิบ โถงถ้ำ และน้ำตกน้อยใหญ่ในเขตอุทยานแห่งชาติทะเลบันด้วยความหลากหลายเช่นนี้ สตูลจึงนับได้ว่าเป็นเพชรอีกเม็ดหนึ่งของภาคใต้ฝั่งอันดามัน อันเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวโดยไม่เคยเสื่อมคลาย
จังหวัดสตูลมีเนื้อที่ประมาณ 2,479 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอันดามัน จึงมีหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่าร้อยเกาะอยู่ในเขตพื้นที่ของจังหวัด ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเนินสูง มีที่ราบ ป่าเขา และลำธารทางด้านตะวันออก ตอนกลางใกล้ทะเลเป็นพื้นที่ราบลุ่มสลับกับภูเขา ส่วนชายฝั่งทะเลเป็นที่ราบและป่าชายเลนชื่อ “สตูล” เพี้ยนมาจากภาษามลายู คือสโตย ซึ่งแปลว่ากระท้อน ที่ขึ้นดกดื่นอยู่ในพื้นที่นี้ โดยก่อนที่จะผนวกรวมอยู่ในราชอาณาจักรไทย สตูลเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลไทรบุรี มีชื่อเป็นภาษามลายูว่านครสโตยมำบังสการา ซึ่งไทยเรียกว่าสตูล แปลว่าเมืองแห่งพระสมุทรเทวาย้อนหลังไปก่อนช่วงรัตนโกสินทร์ สตูลยังไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาใดๆ จนกระทั่งถึงยุคต้นรัตนโกสินทร์ ชื่อสตูลปรากฏอยู่ในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 โดยข้องเกี่ยวกับเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองไทรบุรี นอกจากนี้ ชื่อสตูลยังปรากฏอยู่ในหนังสือพงศาวดารเมืองสงขลาและพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ในเวลาต่อมาเมื่อถึง พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้รักษาเมืองไทรบุรี ปะลิส และสตูลเป็นมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่ามณฑลไทรบุรี จนล่วงเข้า พ.ศ. 2452 มีการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับสหพันธรัฐมลายู ทำให้ไทรบุรีและปะลิสตกเป็นของอังกฤษ ส่วนสตูลอยู่ในความปกครองของไทย โดยใน พ.ศ. 2453 สตูลมีฐานะเป็นเมืองจัตวา รวมอยู่ในมณฑลภูเก็ตกระทั่งประเทศไทยเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใน พ.ศ. 2475 สตูลก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด จวบจนทุกวันนี้จังหวัดสตูลแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ กับ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสตูล อำเภอควนโดน อำเภอท่าแพ อำเภอควนกาหลง อำเภอละงู อำเภอทุ่งหว้า และกิ่งอำเภอมะนัง
ข้อมูลท่องเที่ยวเพิ่มเติม
ฤดูกาลเที่ยวหมู่เกาะในสตูลคือช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงอับคลื่น อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบสภาพอากาศอีกครั้งก่อนเดินทาง เพราะอาจมีมรสุมนอกฤดูพัดผ่านเข้ามา
เที่ยวเกาะหลีเป๊ะให้สนุกและได้ซึมซับวัฒนธรรมของชาวไทยใหม่ (ชาวเล) ควรไปให้ตรงกับวันขึ้น 12-15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งตรงกับช่วงประกอบพิธีลอยเรือของชาวไทยใหม่
48,421 เข้าชม | 6 รีวิว
22,348 เข้าชม | 2 รีวิว
29,113 เข้าชม | 3 รีวิว
36,800 เข้าชม | 3 รีวิว
17,152 เข้าชม | 3 รีวิว
73,945 เข้าชม | 1 รีวิว
16,474 เข้าชม | 1 รีวิว
10,087 เข้าชม | 1 รีวิว
15,665 เข้าชม | 2 รีวิว
15,861 เข้าชม | 2 รีวิว
6,449 เข้าชม | 1 รีวิว
14,241 เข้าชม | 1 รีวิว
6,551 เข้าชม | 1 รีวิว
6,136 เข้าชม | 1 รีวิว
6,037 เข้าชม | 1 รีวิว
6,227 เข้าชม | 1 รีวิว
12,485 เข้าชม | 1 รีวิว
12,463 เข้าชม | 1 รีวิว
7,002 เข้าชม | 1 รีวิว
3,635 เข้าชม | 0 รีวิว
14,269 เข้าชม | 2 รีวิว
9,904 เข้าชม | 1 รีวิว
12,706 เข้าชม | 1 รีวิว
5,209 เข้าชม | 1 รีวิว
14,701 เข้าชม | 1 รีวิว
12,359 เข้าชม | 1 รีวิว
7,302 เข้าชม | 1 รีวิว
21,965 เข้าชม | 1 รีวิว
16,868 เข้าชม | 1 รีวิว
8,772 เข้าชม | 1 รีวิว