"สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ปะคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม"
ข้อมูลจังหวัด
จังหวัดสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 8,124 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5 ล้านไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 24 ของประเทศ ลักษณะพื้นที่ทางตอนใต้บริเวณที่ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นป่าทึบและภูเขาสูงสลับซับซ้อน ถัดมาเป็นที่ราบสูงลูกคลื่นลอนลาด ตอนกลางของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ ทางตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีลำน้ำที่สำคัญ คือ แม่นำมูล ลำน้ำชี ห้วยเสนงสุรินทร์เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนานจังหวัดหนึ่ง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อน ในยุคขอมเรืองอำนาจในภูมิภาคนี้ ต่อมาเมื่ออาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจลง เมืองดังกล่าวก็ถูกทิ้งร้างไปเป็นเวลานานจนกระทั่งราวปี พ.ศ. 2260 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ชาวพื้นเมืองของเมืองอัตปือแสนแป แคว้นจำปาศักดิ์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นดินแดนของไทย ที่เรียกตัวเองว่า “ส่วย” หรือ “กูย” หรือ “กวย” ได้พากันอพยพข้ามลำน้ำโขงมาตั้งชุมชนที่เมืองต่างๆ ในแถบภูมิภาคนี้ รวมถึงที่บ้านอัจจะปะนึ่งและบ้านกุดปะไท ในเขตอำเภอสังขะและอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ คนเหล่านี้มีความสามารถในการจับช้างป่าและนำมาฝึกฝนไว้ใช้งานเป็นอย่างมาก จึงเป็นต้นกำเนิดของตำนาน “เมืองช้าง” ของจังหวัดสุรินทร์นั่นเองต่อมาในปี พ.ศ. 2306 หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) หัวหน้าหมู่บ้านเมืองที ได้ย้ายหมู่บ้านมาตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านคูประทาย ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีชัยภูมิเหมาะสม มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบ 2 ชั้น และมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพและอยู่อาศัย ต่อมาพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็น “เมืองประทายสมันต์” และหลวงสิรินทรภักดีได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง เป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองประทายสมันต์ในปี พ.ศ. 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “เมืองประทายสมันต์” เป็น “เมืองสุรินทร์” ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองในขณะนั้น เมืองสุรินทร์มีเจ้าเมืองปกครองสืบเชื้อสายกันมารวม 11 คน จนถึงปี พ.ศ. 2451 มีการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการแผ่นดินเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล “เมืองสุรินทร์” จึงเปลี่ยนเป็น “จังหวัดสุรินทร์” และทางกรุงเทพฯ ได้แต่งตั้งพระกรุงศรีบุรีรักษ์ (สุม สุมานนท์) มาดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นคนแรกปัจจุบันจังหวัดสุรินทร์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ 4 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม อำเภอจอมพระ อำเภอปราสาท อำเภอกาบเชิง อำเภอรัตนบุรี อำเภอสนม อำเภอศีขรภูมิ อำเภอสังขะ อำเภอลำดวน อำเภอสำโรงทาบ อำเภอบัวเชด กิ่งอำเภอพนมดงรัก กิ่งอำเภอศรีณรงค์ กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ และกิ่งอำเภอโนนนารายณ์
ข้อมูลอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม
ทิศใต้ ติดต่อกับประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์
การเดินทาง
ทางรถยนต์
ของจังหวัดสุรินทร์ระหว่างชนบท หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัดต่าง ๆ มีความสะดวก เพราะมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมติดต่อกัน การเดินทางโดยรถยนต์ระหว่างจังหวัดกับอำเภอ ระยะทางที่ไกลที่สุดคือ อำเภอชุมพลบุรี ระยะทาง 91 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 2 ชั่วโมง ระยะทางที่ใกล้ที่สุดคือ อำเภอเขวาสินรินทร์ ระยะทาง 14 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 30 นาที
สำหรับการเดินทางในตัวจังหวัด จะใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชนจะมี รถเมล์ชมพู ตุ๊กตุ๊ก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง/สามล้อปั่น บริการในจังหวัดสุรินทร์ มีสถานีขนส่งภายในตัวจังหวัดเชื่อมต่อจังหวัดและอำเภอต่าง ๆ ดังนี้คือ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์
สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอปราสาท
สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสังขะ
สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอรัตนบุรี
ทางรถไฟ
การคมนาคมทางรถไฟ ปัจจุบันมีรถไฟสายกรุงเทพฯ-สุรินทร์ โดยผ่านจังหวัดปทุมธานี อยุธยา สระบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ จนถึงสุรินทร์ เปิดการเดินรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ และรถดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพ-สุรินทร์
ทางอากาศ
การคมนาคมทางอากาศ จังหวัดสุรินทร์มีท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี ซึ่งในอดีตได้เปิดทำการบินโดยบริษัท บางกอกแอร์เวย์-แอร์อันดามัน- พีบีแอร์ซึ่งเมื่อปลายปี 2552 สายการบินพีบีแอร์จะเปิดทำการบิน แต่เนื่องจากทางบริษัทประสบปัญหาทางหารเงินจึงได้ปิดกิจการไปก่อน จึงไม่สมารถทำการบินได้ แต่ว่าในอนาคตนี้น่าจะได้ทำการบินอีกครั้ง และได้ปรุบปรุงสนามบินทุกอย่าง และในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2554 ได้มีสายการบิน ไทย รีเจียนัล แอร์ไลน์ ได้ทำการบินทุกวัน วันละ 2 เที่ยว
ขอขอบคุณข้อมูล
http://thai.tourismthailand.org/
http://th.wikipedia.org/wiki/
21,795 เข้าชม | 2 รีวิว
12,360 เข้าชม | 1 รีวิว
29,867 เข้าชม | 2 รีวิว
12,516 เข้าชม | 1 รีวิว
7,564 เข้าชม | 1 รีวิว
16,558 เข้าชม | 1 รีวิว
21,341 เข้าชม | 1 รีวิว
15,861 เข้าชม | 1 รีวิว
6,287 เข้าชม | 0 รีวิว
6,879 เข้าชม | 0 รีวิว
19,688 เข้าชม | 3 รีวิว
12,508 เข้าชม | 2 รีวิว
11,881 เข้าชม | 2 รีวิว
12,546 เข้าชม | 1 รีวิว
13,518 เข้าชม | 1 รีวิว
5,413 เข้าชม | 1 รีวิว
15,782 เข้าชม | 2 รีวิว
13,073 เข้าชม | 1 รีวิว
15,777 เข้าชม | 1 รีวิว
14,130 เข้าชม | 1 รีวิว
12,582 เข้าชม | 2 รีวิว
15,276 เข้าชม | 2 รีวิว
11,571 เข้าชม | 1 รีวิว
14,601 เข้าชม | 0 รีวิว
9,849 เข้าชม | 0 รีวิว
9,637 เข้าชม | 0 รีวิว
8,273 เข้าชม | 0 รีวิว
135 เข้าชม | 0 รีวิว
5,586 เข้าชม | 0 รีวิว
7,212 เข้าชม | 0 รีวิว