ที่เที่ยวสุรินทร์ - 10 ที่เที่ยวเมืองต้องห้ามพลาด Plus สุรินทร์ เมืองปราสาทหินโบราณ
ถ้าพูดถึง สุรินทร์ ถิ่นช้าง นอกจากที่เที่ยวที่เกี่ยวกับช้างแล้ว ยังมีที่เที่ยวอีกมากมายให้เหล่านักท่องเที่ยวได้เข้าไปแสวงหา ยิ่งเป็นที่เที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของเหล่าปราสาทโบราณต่างๆ ยิ่งน่าสนใจ ว่าแต่มาเยือนสุรินทร์ จะไปเที่ยวที่ไหนได้บ้างนั้น PaiNaiDii มีมาแนะนำ
1. ศูนย์คชศึกษาสุรินทร์ (หมู่บ้านช้าง ใหญ่ที่สุดในโลก) จ.สุรินทร์
ข้อมูล : ศูนย์คชศึกษา หรือ หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง เป็นสถานที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมวิถีความเป็นอยู่ ความผูกพัน ของคนในชุมชนและช้าง รวมทั้งประเพณี และวัฒนธรรมที่น่าชื่นชมอย่างใกล้ชิด
ที่ตั้ง : ศูนย์คชศึกษา หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์, 32120
โทรศัพท์ :
เวลาเปิด-ปิด : การแสดงช้างมีทุกวัน วันละ 2 รอบ รอบเช้า 10.00 น. และรอบบ่าย 14.00 น.
ค่าใช้จ่าย : ผู้ใหญ่ คนละ 50 บาท , เด็กโต คนละ 20 บาท , เด็กเล็ก คนละ 10 บาท และชาวต่างชาติ คนละ 100 บาท
การเดินทาง : จากกรุงเทพใช้เส้นทาง กรุงเทพ- สระบุรี– นครราชสีมา จากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 2 หรือถนนมิตรภาพแล้วแยกเลี้ยวขวาเข้าทางหมายเลข 206 เส้นทาง ไป อำเภอพิมายแยกซ้ายเข้าทางหมายเลข 2175 ไปชุมพวงผ่านอำเภอแคนดง-สตึก-ชุมพลบุรี จากชุมพลบุรี ตรงไปยัง อำเภอท่าตูม ทางหมายเลข 2018 ประมาณ 12 กิโลเมตร จะมีทางเลี้ยวขวาลัดไปยังหมู่บ้านช้างบริเวณบ้านกระสัง ไปบ้านยางบภิรมย์ แล้วตรงไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ก็จะถึงหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง เส้นทางสะดวกเป็นถนนทางลาดยางตลอดสาย และยังมีป้ายบอกตลอดการเดินทาง
~คลิกชมภาพเพิ่มเติมและอ่านรีวิว~
2. ปราสาทหินบ้านพลวง สุรินทร์
ข้อมูล : ปราสาทบ้านพลวงเป็นปราสาทหลังเดี่ยว ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูทางเข้าอยู่ด้านหน้าเพียงด้านเดียว ส่วนอีก 3 ด้านทำเป็นประตูแกะสลักหินเป็นรูปประตูลายไม้ หรือประตูหลอก ตัวปราสาทก่อสร้างด้วยหินทราย ด้านบนเรือนธาตุสร้างด้วยอิฐซึ่งพังทลายลงมาจนหมดแล้ว จึงเหลือตัวปราสาทเพียงครึ่งเดียว มีคูน้ำเป็นรูปตัวยู ( U ) ล้อมรอบ ใกล้เคียงกันมี "บาราย" หรือสระน้ำขนาดใหญ่ เป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณมาก่อน
ที่ตั้ง : บ้านพลวง ตำบลกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ค่าใช้จ่าย : ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 30 บาท
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน เวลา 07.30-18.00 น.
การเดินทาง : ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 4 กิโลเมตร ตามถนนสายสุรินทร์-ปราสาท-ช่องจอม (ทางหลวงหมายเลข 214) มีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีก 900 เมตร ตรงกิโลเมตรที่ 34-35
~คลิกชมภาพเพิ่มเติมและอ่านรีวิว~
3. กลุ่มปราสาทตาเมือน (ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน) สุรินทร์
Photo : thai.tourismthailand.org
ข้อมูล : กลุ่มปราสาทตาเมือน เป็นปราสาทหินสามหลังรวมกันเป็นกลุ่ม เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปหาเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน โดยปราสาทแต่ละหลังนั้นมีประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างกันไป ส่วนการเยี่ยมชมกลุ่มปราสาทตาเมือนนั้น เนื่องจากมีพื้นที่อยู่ติดกับเขตชายแดน เพื่อความปลอดภัยจึงควรเที่ยวชมเฉพาะภายในเขตปราสาทเท่านั้น และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด
ที่ตั้ง : เขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
เวลาเปิด-ปิด : ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อนเพื่อความปลอดภัยในการเที่ยวชมปราสาท
การเดินทาง : จากจังหวัดบุรีรัมย์ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 219 ที่จะไปบ้านกรวด จนมาถึงแยกที่ตัดกับทางหลวงหมายเลข 224 บริเวณนิคมปราสาท อำเภอบ้านกรวด เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 224 จนถึงแยกบ้านตาเมียง จะพบทางที่มีป้ายบอกไป ฉก. ตชด. 16 เลี้ยวไปตามถนนเส้นนี้(2407)ตรงมาเรื่อยๆ จนพบห้าแยกเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2407 ผ่านบ้านหนองคันนา ใช้ทางตรงมาเรื่อยจนพบทางแยก จะพบปราสาทตาเมือนก่อน ใกล้ๆกันนั้นมีหน่วยตระเวนชายแดนคุ้มครองนักท่องเที่ยว ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อนเพื่อความปลอดภัยในการเที่ยวชมปราสาท
~คลิกชมภาพเพิ่มเติมและอ่านรีวิว~
4. วัดบูรพาราม สุรินทร์
Photo : thai.tourismthailand.org
Photo : thai.tourismthailand.org
ข้อมูล : วัดบูรพาราม วัดเก่าแก่และสำคัญของจังหวัดสุรินทร์ ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ดุลย์ ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่ดุลย์ อตุโล พร้อมทั้งภาพประวัติพระเถระด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน อันประกอบด้วยพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น และลูกศิษย์
ที่ตั้ง : ถ.จิตรบำรุง ต.ในเมือง อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวันเวลา 08.30 - 16.30 น.
การเดินทาง : เส้นทางเข้าสู่วัดบูรพารามวัดบูรพารามตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ มีเส้นทางเข้าออกได้หลายเส้นทาง ได้แก่ ถนนกรุงศรีใน ถนนธนสาร และถนนจิตรบำรุง วัดบูรพารามตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์
~คลิกชมภาพเพิ่มเติมและอ่านรีวิว~
5. อ่างเก็บน้ำ ห้วยเสนง สุรินทร์
ข้อมูล : ห้วยเสนง เป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นเพื่อบรรเทาอุทกภัย และเป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตร ทั้งยังเป็นแหล่งพักผ่อนของชาวสุรินทร์ เปรียบเสมือนทะเลเมืองสุรินทร์ ให้นักท่องเที่ยวมาพักผ่อนและลงเล่นน้ำได้
ที่ตั้ง : อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง อ.เมือง จ.สุรินทร์
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน
การเดินทาง : อยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ไปทางถนนสุรินทร์-ปราสาท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214) ประมาณ 5 กิโลเมตร (บริเวณหลัก ก.ม. ที่ 5-6 ) แยกซ้ายมือไปางถนนริมคลองชลประทาน ประมาณ 4 กิโลเมตร
~คลิกชมภาพเพิ่มเติมและอ่านรีวิว~
6. ปราสาทศีขรภูมิ สุรินทร์
Photo : thai.tourismthailand.org
ข้อมูล : ปราสาทศีขรภูมิ หรือจะเรียกว่า ปราสาทระแงง ที่ถือว่าเป็นปราสาทที่งดงามที่สุดในสุรินทร์ มีลักษณะเป็นปรางค์หมู่ 5 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ที่น่าสนใจก็คือ ภาพสลักนางอัปสราถือดอกบัว ที่บริเวณเสากรอบประตู มีลักษณะคล้ายกับนางอัปสราที่นครวัด และเป็นเพียงแห่งเดียวที่พบศิลปะแบบขอมโบราณในประเทศไทย
ที่ตั้ง : ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
ค่าใช้จ่าย : ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 30 บาท
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน เวลา 07.30-18.00 น.
การเดินทาง : ห่างจากอำเภอเมืองสุรินทร์ 34 กิโลเมตร ตามเส้นทางสุรินทร์-ศีขรภูมิ (ทางหลวงหมายเลข 226) ห่างจากที่ว่าการอำเภอศีขรภูมิไปอีกประมาณ 1 กม.
~คลิกชมภาพเพิ่มเติมและอ่านรีวิว~
7. วนอุทยานแห่งชาติพนมสวาย สุรินทร์
Photo : thai.tourismthailand.org
ข้อมูล : วนอุทยานพนมสวาย เป็นภูเขาเตี้ยๆ มียอดเขาอยู่ 3 ยอด ยอดที่ 1 มีชื่อว่ายอดเขาหญิง(พนมสรัย) ทางวัดได้จัดสร้างพระพุทธรูปองค์ขนาดกลางประดิษฐานบนยอดเขา ยอดที่ 2 มีชื่อว่ายอดเขาชาย(พนมเปราะ) เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคล และยอดที่ 3 มีชื่อว่าเขาคอก(พนมกรอล) มีศาลาอัฐมุขสร้างเป็นอนุสรณ์ฉลองครบรอบ 200 ปี แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง และยังมีสถูปบรรจุอัฐิหลวงปู่ดุลย์ ซึ่งเป็นพระเถระสายวิปัสนากรรมฐาน ที่มีชื่อเสียง และเป็นที่เคารพนับถือของชาวสุรินทร์ นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นแหล่งรวบรวมกล้วยไม้ป่าจำนวนมาก และเป็นจุดชมวิวที่สวยงามอีกแห่งของสุรินทร์อีกด้วย
ที่ตั้ง : ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน 06.00 – 18.00 น.
การเดินทาง : อยู่ห่างจากตัวจังหวัดสุรินทร์ ประมาณ 22 กิโลเมตร (ถนนลาดยางสายสุรินทร์ - ปราสาท 14 กิโลเมตร และถนนผิวจราจรลูกรัง 8 กิโลเมตร)
~คลิกชมภาพเพิ่มเติมและอ่านรีวิว~
8. อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) สุรินทร์
ข้อมูล : อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงผู้สร้างเมืองท่านแรก ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของเมืองสุรินทร์ อนุสาวรีย์เป็นรูปหล่อทองเหลืองรมดำ สูง 2.2 เมตร มือขวาถือของ้าว อันเป็นการแสดงถึงความเก่งกล้าสามารถ ของท่านในการบังคับช้างศึกและเป็นเครื่องแสดงว่า สุรินทร์เป็นเมืองช้างมาแต่ดึกดำบรรพ์ รูปปั้นสะพายดาบคู่อยู่บนหลังอันหมายถึงความเป็นนักรบ ความกล้าหาญอันเป็นคุณสมบัติที่ตกทอดเป็นมรดกของคนสุรินทร์
ที่ตั้ง : ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ สุรินทร์ 32000
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน 08.00 – 16.00 น.
การเดินทาง : อยู่ที่ทางเข้าเมืองสุรินทร์ทางด้านใต้ ตรงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 0 ที่ถนนสุรินทร์-ปราสาท
~คลิกชมภาพเพิ่มเติมและอ่านรีวิว~
9. หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านท่าสว่าง สุรินทร์
ข้อมูล : เป็นโรงงานทอผ้ายกทองโบราณที่คุณภาพผ้าและลายทัดเที่ยมของโบราณ เป็นการทอโดยใช้ใยไหมเส้นเล็กละเอียด (ไหมน้อย) มาย้อมสีธรรมชาติ ด้วยเทคนิคแบบโบราณผสานกับการออกแบบลวดลายที่วิจิตร แบบลายชั้นสูงในอดีต
ที่ตั้ง : 23 หมู่ 1 บ้านท่าสว่าง, ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์, 32000
เวลาเปิด-ปิด : เปิดทุกวัน
การเดินทาง : ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 226 มุ่งหน้าสู่จังหวัดสุรินทร์ บ้านท่าสว่างอยู่ห่างจากเขตตัวเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ 8 กิโลเมตร มุ่งหน้าเข้าสู่หมู่บ้านโดยใช้ถนนสุรินทร์ - เมืองลึง
~คลิกชมภาพเพิ่มเติมและอ่านรีวิว~
10. ศาลหลักเมืองสุรินทร์
Photo : thai.tourismthailand.org
ข้อมูล : ศาลหลักเมืองสุรินทร์ เป็นสถานที่สำคัญและเป็นที่นับถือคู่บ้านคู่เมืองของชาวสุรินทร์ เป็นสัญลักษณ์ที่พึ่งทางจิตใจของชาวสุรินทร์ที่ได้รับการเคารพกราบไหว้ตลอด มา
ที่ตั้ง : ถนนเทศบาล 3 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ สุรินทร์
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน 09.00 – 17.00 น.
การเดินทาง :อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร
~คลิกชมภาพเพิ่มเติมและอ่านรีวิว~